fbpx

อยากเป็นเทรดเดอร์สาย Technical Trading ต้องทำอย่างไร

Published by IndyTrader on

สำหรับการเทรดสินทรัพย์ต่าง ๆ เทรดเดอร์ส่วนใหญ่มักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ไปพร้อม ๆ กับการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่เน้นวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยเฉพาะ มีความแตกต่างจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่เน้นประเมินมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ที่ต้องการจะลงทุน ความสำคัญของการวิเคราะห์ทางเทคนิคกับการเทรด มีส่วนช่วยในการตัดสินใจเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น จึงเหมาะอย่างมากสำหรับการลงทุนระยะสั้น สำหรับใครที่อยากเป็นเทรดเดอร์สายเทคนิคหรือ Technical Trading ต้องรู้อะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

Technical Trading คืออะไร?

การวิเคราะห์ทางเทคนิค Technical Trading หรือ Technical Analysis เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่เน้นวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เช่น ราคา ปริมาณการซื้อขายในอดีต มุ่งเน้นการวิเคราะห์แนวโน้มและรูปแบบกราฟ ซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถส่งสัญญาณการกลับตัว แนวโน้มขาขึ้น หรือแนวโน้มขาลง เพื่อให้เทรดเดอร์คาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต และจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในสภาวะตลาดที่แตกต่างกันไป

อินดิเคเตอร์ที่สำคัญสำหรับ Technical Trading

อินดิเคเตอร์ (Indicator) เป็นเครื่องมือคำนวณทางคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปใช้คำนวณข้อมูลราคาและปริมาณการซื้อขาย อินดิเคเตอร์เหล่านี้ช่วยเทรดเดอร์ในการระบุแนวโน้ม โมเมนตัม ความผันผวน และสัญญาณซื้อขายที่อาจเกิดขึ้น โดยอินดิเคเตอร์ที่สำคัญสำหรับ Technical Trading ได้แก่

1. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA)

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA) เป็นอินดิเคเตอร์ที่จะช่วยระบุแนวโน้มและการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้น เป็นการคำนวณราคาย้อนหลัง โดยจะมีเส้น Simple Moving Averages (SMA) แสดงราคาปิดโดยเฉลี่ย ในขณะที่ Exponential Moving Averages (EMA) จะแสดงราคาล่าสุดโดยเฉลี่ย เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MA) จึงช่วยให้เทรดเดอร์ประเมินแนวโน้มของตลาดโดยรวม และตัดสินใจเกี่ยวกับจุดเข้าและออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ดัชนีความสัมพันธ์สัมพัทธ์ (RSI)

Relative Strength Index หรือ RSI เป็นอินดิเคเตอร์ที่จะช่วยประเมินสภาวะตลาดที่มีการซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือมีการขายมากเกินไป (Oversold) ค่า RSI ที่ต่ำกว่า 30 อาจบ่งบอกถึงสภาวะการขายมากเกินไปจึงเป็นโอกาสในการซื้อ ในขณะที่ค่าที่สูงกว่า 70 อาจส่งสัญญาณถึงสภาวะการซื้อมากเกินไปจึงเป็นโอกาสในการขาย อีกทั้งการเคลื่อนที่ของ RSI ที่สวนทางกับการเคลื่อนที่ของราคาในกราฟ ยังเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าจะเกิดการกลับตัวได้อีกด้วย

3. MACD

Moving Average Convergence & Divergence หรือ MACD คือ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เทรดเดอร์นิยมใช้เพื่อบอกแนวโน้ม (Trend) ของราคา ซึ่งได้มาจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองเส้นหรือ Moving Average (MA) เป็นเส้นที่คำนวณค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลังตามระยะเวลาที่คุณกำหนดในกราฟ MACD ให้สัญญาณได้หลายอย่างทั้งการติดตามแนวโน้ม โมเมนตัม และการกลับตัวของราคา MACD ไม่เพียงแต่บอกทิศทางและความแข็งแกร่งของเทรนด์เท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจเรื่องจุดเข้าและออกเพื่อทำกำไรได้อย่างดีอีกด้วย

4. Fibonacci Retracement

Fibonacci Retracement เป็นเส้นแนวนอนที่ใช้เพื่อระบุการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้น โดยเทรดเดอร์จะวาดหรือลากเส้นในกราฟ จากจุดต่ำสุดไปจุดสูงสุดของราคา และจากซ้ายไปขวาของราคาที่มีนัยสำคัญตามแผนการเทรดของแต่ละคน จากนั้นจึงวาดเส้นแนวนอนโดยการใช้อัตราส่วน Fibonacci ทำให้เทรดเดอร์สามารถวางแผนหรือตั้งค่าคำสั่ง Stop-loss หรือคำสั่ง Take Profit ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยจัดการความเสี่ยงในการเทรดได้ดียิ่งขึ้น

Stop-Loss และ Take Profit

นอกจาก Technical Trading จะวิเคราะห์กราฟเพื่อวางแผนเทรดแล้ว เทรดเดอร์สายเทคนิคต้องให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงด้วย การใช้คำสั่ง Stop-Loss เป็นคำสั่งให้หยุดและทำการขายทันที เพื่อไม่ให้ราคาของสินทรัพย์ในพอร์ตลดลงไปมากกว่านี้ และการใช้คำสั่ง Take Profit เป็นคำสั่งให้ขายเพื่อทำกำไร เมื่อราคาของสินทรัพย์ไปถึงจุดทำกำไรที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เทรดเดอร์พลาดโอกาสในการทำไรและป้องกันการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น

สรุป Technical Trading

เพราะไม่มีเครื่องมือหรืออินดิเคเตอร์ตัวไหนที่จะให้สัญญาณได้อย่างแม่นยำ 100% ดังนั้น Technical Trading ต้องให้ความสำคัญทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน การวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยอินดิเคเตอร์ มีความเข้าใจแนวโน้มของตลาดประเภทต่าง ๆ  ไปจนถึงกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยงด้วย สำหรับเทรดเดอร์ที่อยากเป็นสายเทคนิค Indy Trader มีคอร์สเรียนให้คุณเลือกมากมายทั้งเทรดทองคำ และคอร์สสอน Forex เบื้องต้น ให้คุณมีความพร้อมกับการลงทุนทุกรูปแบบ และค้นหาสไตล์การเทรดที่เป็นตัวคุณมากที่สุด