โบรกเกอร์ (Broker) คืออะไร? และมีวิธีเลือกโบรกเกอร์อย่างไร?

Published by Indy Trader Academy on

โบรกเกอร์ (Broker) คืออะไร? และมีวิธีเลือกโบรกเกอร์อย่างไร?
โบรกเกอร์ (Broker) คืออะไร? และมีวิธีเลือกโบรกเกอร์อย่างไร?

ปัจจุบันคนให้ความสนใจการลงทุนใน Forex มากขึ้น แต่การจะเริ่มเทรด Forex ให้ประสบความสำเร็จนั้น จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลายส่วน นอกจากความรู้และประสบการณ์แล้ว ยังจำเป็นต้องเลือก  “โบรกเกอร์” ที่ดีและน่าเชื่อถืออีกด้วยนั่นเอง

โบรกเกอร์ คืออะไร ?

โบรกเกอร์ (Broker)  คือ ตัวกลางระหว่างเทรดเดอร์กับตลาด Forex โดยทำหน้าที่เป็นตัวแทนส่งคำสั่งซื้อ-ขาย

การเริ่มต้นลงทุนกับ Forex นั้น จำเป็นต้องเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์เสียก่อน ดังนั้นการเลือกโบรกเกอร์ที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยหน้าที่หลักของโบรกเกอร์ ได้แก่

  1. ตรวจสอบเอกสารยืนยันตัวตนของผู้เปิดบัญชีเทรด
  2. ให้บริการทำธุรกรรมทางการเงิน ฝาก-ถอน เงินเข้าบัญชีเทรด
  3. ช่วยเหลือและรับเรื่องร้องเรียนข้อผิดพลาดต่างๆ

แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

1. Dealing Desk (DD) 

Dealing Desk (DD) คือโบรกเกอร์ที่เก็บข้อมูลลูกค้าไว้ที่ส่วนกลางหรือ Server ของโบรกเกอร์ก่อนและมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอีกครั้ง ไม่ได้ส่งออเดอร์เข้าตลาดจริงโดยตรงแล้วจึงนำออเดอร์ที่ตรงกันนำไปจับคู่กัน หรืออาจเรียกว่า Market Maker หรือ B Book 

โดยโบรกเกอร์จะรับออเดอร์จากลูกค้าโดยตรง เนื่องจากตรวจสอบดูแล้วน่าจะเป็นส่วนที่ไม่ทำกำไร หากโบรกเกอร์ไม่สามารถจับคู่สถานะของลูกค้าภายในโบรกเกอร์ตนเองได้ ก็จะนำคำสั่งซื้อ-ขายของลูกค้าไปเทรดตรงข้ามกับลูกค้าในตลาดจริงหรือโบรกเกอร์อื่นเพื่อป้องกันความเสี่ยง

2. No Dealing Desk (NDD)

โบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD) คือ โบรกเกอร์ที่นำข้อมูลคำสั่งซื้อ-ขายของผู้เทรดเข้าสู่ตลาด Forex โดยตรง ไม่ผ่านตัวกลางหรือ Server หลักของทางโบรกเกอร์ โดยได้รับรายได้จากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือคิดค่าสเปรดเพียงเล็กน้อย แต่อาจจะมีการเรียกเก็บค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียมอื่น ๆ มากกว่าโบรกเกอร์ประเภท Dealing Desk (DD)

ในส่วนของโบรกเกอร์ประเภท No Dealing Desk (NDD) สามารถแบ่งได้ย่อยอีก 2 ประเภท ประกอบด้วย

2.1 STP (Straight Through Processing System)

ระบบ STP คือ การประมวลผลโดยตรง โดยโบรกเกอร์ที่ใช้ระบบ STP ในการจับคู่คำสั่งซื้อ-ขายของลูกค้า มักจะนำคำสั่งซื้อเข้าสู่ตลาดจริงโดยตรง ทำให้ได้ราคาตรงกับราคาตลาดจริงโดยระบบจะจัดเรียงลำดับ Bid กับ Ask ให้กับทางโบรกเกอร์อีกด้วย

2.2 ECN+STP (Electronic Communication Network + Straight Through Processing)

โบรกเกอร์ที่เป็น ECN+STP คือการใช้ระบบที่ทำให้คำสั่งซื้อ-ขายสามารถจับคู่กับราคาในตลาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่เกิดการรีโควต เนื่องจากระบบนี้เป็นระบบที่เมื่อเปิดบัญชีและป้อนคำสั่งเข้าไปแล้วระบบจะไม่เก็บข้อมูลไว้ที่โบรกเกอร์ก่อนส่งไปยังส่วนกลาง ทำให้ซื้อ-ขายได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนักเทรดที่อยู่ในระดับมืออาชีพ

วิธีการเลือกโบรกเกอร์อย่างไร?

โบรกเกอร์ Forex ในปัจจุบันก็มีให้เลือกมากมายแต่ในการเลือกโบรกเกอร์ที่ดีนั้นจำเป็นต้องเลือกโบรกเกอร์ที่ไว้ใจได้และติดต่อได้อยู่เสมอ เป็นที่รู้กันดีว่าการลงทุนในตลาด Forex ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง ฉะนั้นจะต้องเลือกโบรกเกอร์ที่มีมาตรฐาน และมีใบอนุญาตจากองค์กรที่ควบคุมดูแล เช่น CySec, ASIC, FSP, NFA, CFTC, FSA  รวมไปถึงควรตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดของโบรกเกอร์เพื่อป้องกันการใช้บริการโบรกเกอร์เถื่อนหรือโบรกเกอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

คุณสมบัติของโบรกเกอร์ที่ได้มาตรฐาน

  1. เปิดบัญชีเทรดได้สะดวกสบายและรวดเร็ว
  2. ทำรายการฝาก-ถอนได้รวดเร็วมีมาตรฐานและปลอดภัย
  3. เงื่อนไขในการเทรด ฝากและถอนไม่ยุ่งยากมากนัก
  4. มีบริการช่วยเหลือผ่าน Live Chat ภาษาไทยให้บริการในวันจันทร์-ศุกร์ และ Live Chat ภาษาอังกฤษตลอด 24 ชม.
  5. มีช่องทางรองรับการบริการของทางธนาคารให้เลือกหลากหลาย
  6. มีแพล็ตฟอร์มให้เลือกเทรดหลายทางทั้งบน PC และสมาร์ทโฟน

โบรกเกอร์ที่ได้มาตรฐานจะเป็นส่วนที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน ในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันโบรกเกอร์เถื่อนที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่มีองค์กรควบคุมดูแลก็จะหาผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายไม่ได้เลย เบื้องต้นแนะนำให้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ให้ดีเสียก่อน